วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์ไทย สมัย ธนบุรี

การสถาปนากรุงธนบุรี
แผนที่ประเทศไทยสมัยธนบุรี
     ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว  บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง  ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม  การเสียกรุงครั้งที่ 2  นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า  จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
      ชุมนุมคนไทยทั้ง  5  ชุมนุม  ได้แก่
  1. ชุมนุมเจ้าพิมาย
  2. ชุมนุมเจ้าพระฝาง
  3. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
  4. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
  5. ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง  7  เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช  และการกอบกู้อิสรภาพ
     พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า  สิน  มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน)  มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก
      พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง  จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา  แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ  500  คน  ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป  พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก  แล้วตั้งบที่มั่นที่เมืองจันทบุรี  เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร  เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว  พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
      หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว  เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4  แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า  พระเจ้าตากสิน  หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
     ภายหลังกู้เอกราชแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า  สภาพของรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก  ทั้งนี้  เพราะ
  1. ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า
  2. กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้
  3. ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี  ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ
  4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา  ข้าศึกษาสามารถโจมตีนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ
  5. กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก  ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล
     พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
  1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
  2. ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  สะดวกในการติดต่อค้าขาย
  3. สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ
  4. ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้  สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้
  5. ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และการขยายอาณาจักร
อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชที่พระราชวังเดิม
     พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น  โดยใช้เวลาเพียง  3  ปี  สาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบก้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้  เนื่องจาก
  1. พระปรีชาสามารถในการรบ
  2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน
  3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย  กล้าหาญ
     หลังจากกอบกู้เอกราช รวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว  ไทยต้องทำสงครามกับพม่า  เพื่อป้องกันอาณาจักรอีกถึง  9  ครั้ง  โดยสามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้สำเร็จ
การขยายอาณาจักร
     หลังจากเหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงเริ่มขยายอาณาเขตไปยังประเทศใกล้เคียง  ดังนี้
  1. การขยายอำนาจไปยังเขมร
    • เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม  แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ
    • ในปี  พ.ศ.  2314  โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก  และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ
    • ในปี  พ.ศ.  2323  ได้เกิดกบฎในเขมร  จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปราม อีก  แต่ยังไมทัน่สำเร็จ  พอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับ
  2. การขยายอำนายไปยังลาว
    • การตีเมืองจำปาศักดิ์
    • การตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรปที่สำคัญมา 2 องค์  คือ  พระแก้วมรกต และ พระบาง
     อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน  มีดังนี้
  • ทิศเหนือ  ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง  เวียงจันทน์
  • ทิศตะวันออก   ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน
  • ทิศใต้   ได้ดินแดนเมืองกลันตัน  ตรังกานู  และไทรบุรี
  • ทิศตะวันตก   จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ  ทวาย  และตะนาวศรี
      สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย  รวบรวมอาณาเขตประเทศไทย ให้เป็นปึกแผ่น  ทรงปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ  ขยายอาณาเขตออกไปได้กว้างขวาง  นับว่าพระองค์ เป็นมหาวีรกษัตริย์ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ให้ไว้แก่ชาิติไทยเป็นอันมาก  ควรแก่การเทิดทูนในพระเกียรติคุณเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาในปลายรัชกาล  พระองค์เสียพระจริต  จึงถูกข้าราชการปลดพระองค์ออกจากราชสมบัติ  รวมเวลาครองราชย์อยู่  15  ปี  ส้ินสุดสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ  พ.ศ.  2325  ประชาชนชาวไทยในหนหลังได้ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

(ที่มา http://allknowledges.tripod.com/thonburi.html)


ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

(พ.ศ. 1893 - 2310)

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
       ในราวปี  พ.ศ.  1893  เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ  จึงแข็งข้อ  เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่  พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  และตอนล่าง  ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย  โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน  หรือบึงพระราม  ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา  ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย  จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่  พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นานเป็นเวลาถึง  20  ปี
แผนที่ประเทศไทยสมัยอยุธยา
แผนที่ประเทศไทยสมัยอยุธยา
     กรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาโดยลำดับ  ทั้งนี้เพราะทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมหลายประการ  คือ
  1. ในด้านยุทธศาสตร์  มีภูมิประเทศเป็นเกาะ  มีแม่น้ำล้อมรอบ  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรี
  2. ในด้านเศรษฐกิจ
  • เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านถึง  3  สาย
  • พื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำอาชีพเกษตรกรรม
  • ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า
    ในการค้ากับต่างประเทศ
      กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีอยู่เป็นระเวลาถึง  417  ปี  มีกษัตริย์ปกครองถึง  5  ราชวงศ์  ดังนี้
  1. ราชวงศ์อู่ทอง  (พ.ศ.  1893 - 1913  และ  พ.ศ.  1931 - 1952)
  2. ราชวงศ์สุวรรภูมิ (พ.ศ.  1913 - 1931  และ  พ.ศ.  1952 - 2112)
  3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 - 2172)
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ.  2172 - 2231)
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  (พ.ศ.  2231 - 2310)

การปกครอง

        การจัดการปกครองในระยะแรก เป็นการนำเอาลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย และการปกครองของขอมเข้ามาใช้  ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ  ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
     การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น  2  สมัย  ดังนี้  คือ
  1. สมัยอยุธยาตอนต้น  (พ.ศ.  1893 - 1991)   มีลักษณะดังนี้
    • การปกครองส่วนกลาง  หรือการปกครองภายในราชธานี  เรียกว่า  การปกครองแบบจตุสดมภ์  มีขุนนาง  4  ฝ่าย ทำหน้าที่ดังนี้
      • กรมเวียง     มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในราชธานี
      • กรมวัง        มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ
      • กรมคลัง       มีหน้าที่เก็บพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
      • กรมนา         มีหน้าที่ดูแลการทำเรือกสวนไร่นา  และเก็บเสบียงไว้ใช้ในยามสงคราม
    • การปกครองส่วนภูมิภาค  ได้แก่  เมืองที่อยู่นอกราชธานี  โปรดให้เจ้านาย และขุนนางที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง  แบ่งเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
      • เมืองหน้าด่่าน   ได้แก่  เมืองที่อยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ
      • เมืองชั้นใน      ได้แก่  เมืองที่อยู่ไม่ไกลราชธานีมากนัก
      • เมืองชั้นนอก    ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก
    • หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  หัวเมืองที่อ่อนน้อม ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  โปรดให้เจ้านายพื้นเมืองปกครองกันเอ
  2. การปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
    • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ในปี  พ.ศ.  1991  การปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ได้ใช้ตลอดมาจนสิ้นสุดสมัยอยุธยา
    • ผลการปรับปรุงการปกครอง  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีดังนี้คือ
      • เปลี่ยนชื่อกรมต่าง ๆ  ของจตุสดมภ์  เป็นดังนี้
        • กรมเวียง  ใช้ชื่อว่า  นครบาล
        • กรมวัง     ใช้ชื่อว่า  ธรรมาธิกรณ์
        • กรมคลัง   ใช้ชื่อว่า  โกษธิบดี
        • กรมนา     ใช้ชื่อว่า   เกษตราธิการ
      • โปรดให้แยกงานฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน  โดยกำหนดให้สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และสมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน
      • แบ่งหัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  ตามลำดับ
      • การปกครองหัวเมืองประเทศราช  โปรดให้เจ้านายของชนชาตินั้น ปกครองกันเอง  โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามลำดับ
        ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา  คือการแย่งชิงราชสมบัติและอำนาจของขุนนางฝ่ายต่าง ๆ  เนื่องจากขาดความสามัคคี และไม่มีระบบการสืบราชสมบัติที่แน่นอนขาดประสิทธิภาพ

ราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็ยพระนารายณ์มหาราช  
สังคมในสมัยอยุธยา

       สังคมไทยในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยบุคคล  5  กลุ่ม  ได้แก่  พระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง   ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และผู้ที่ได้รับการยกย่องเลื่อมใสจากคนทุกกลุ่ม คือ  พระสงฆ์
      ลักษณะการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยมีลักษณะไม่ตายตัว  บุคคลอาจจะเสื่อมตำแหน่งฐานะทางสังคมของตนได้  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และคุณประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติ
  1. พระมหากษัตริย์  พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา
    • ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ  (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
    • ทรงเป็นประมุขของประเทศ  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
    • ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิต  และเจ้าแผ่นดิน
    • ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
  2. เจ้านาย  หมายถึง  พระราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์  มีสกุลยศลดหลั่น ตามลำดับ  คือ เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  ฯลฯ
  3. ขุนนาง  มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดิน ในการปกครองประเทศ  โดยพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานศักดินา ให้เป็นเครื่องตอบแทนอำนาจ และฐานะของขุนนาง มีดังนี้
    • ขุนนางเป็นชนชั้น ที่มีอำนาจมาก ทั้งในด้านการปกครอง และการควบคุมพลเมือง
    • ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงออกกฎหมายศักดินา จัดทำเนียบขันนาง ข้าราชการ ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่ง  ยศ  ราชทินนาม
    • ขุนนางที่มีไพร่พลมาก จะเป็นฐานแห่งกำลัง และอำนายที่สำคัญ  ปัญหา ความขัดแย้งในกลุ่มขุนนาง และเจ้านายจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  4. ไพร่  หมายถึงสามัญชนทั่วไป  นับว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ
    • ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนสังกัดต่อรัฐ  คือ องค์พระมหากษัตริย์  ต้องมาเข้าเวรเพื่อรับใช้ราชการปีละ 6 เดือน
    • ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนต่อเจ้านายและขุนนาง
    • ไพร่ส่วน  หมายถึง  ไพร่ที่ส่งผลิตผลมาแทนการเข้าเวร  เื่พื่อใช้แรงงาน
  5. ทาส  เป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
    • ทาสที่ไถ่ถอนตัวได้  เรียกว่า  ทาสสินไถ่
    • ทาสที่ไถ่ถอนตัวไม่ได้  เช่น  ทาสเชลย  ลูกทาสเชลย ฯลฯ
  6. พระสงฆ์  พระสงฆ์ไม่จำกัดชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง  แต่เป็นที่เคารพของคนทุกชนชั้น  บทบาทและความสำคัญของพระสงฆ์ มีดังนี้
    1. เป็นที่พึ่งทางใจของคนทุกชนชั้น
    2. เป็นบุคคลที่เปรียบเสมือนตัวเชื่อมของชนชั้นสูง กับชนชั้นต่ำ
    3. เป็นผู้ให้การศึกษา  เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ในสมัยก่อน
      สถาบันที่มีอิทธิพลต่อสังคมในสมัยอยุธยาเป็นอันมาก ได้แก่  พระพุธะศาสนา เพราะเป็นศาสนาของทุกชนชั้น และเป็นเครื่องจรรโลงเอกภาพของสังคม  วัดในพระพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญดังนี้
  1. เป็นศูนย์กลางของชุมชน
  2. เป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยมีพระสงฆ์เป็นครู
  3. เป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมไทย
  4. เป็นสถานที่พบปะและจัดกิจกรรมของราษฎร
    
   


วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีสรรเพชญ์

   กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่นานถึง  417  ปี  คือตั้งแต่  พ.ศ. 1893 - 2310  แต่กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มเสื่อมลงน้อย  นับแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหวง เป็นต้นมา  โดยมีสาเหตุสำคัญดังนี้
     1.  เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ
     2.  ขุนนางและเจ้านายผู้ใหญ่แตกสามัคคี
     3.  ทหารแตกแยกกัน  กองทัพขาดการเตรียมพร้อม
     นอกจากสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในกรุงศรีอยุธยาเองดังกล่าวแล้ว  ยังประกอบกับพม่ามีกำลังและอำนาจมากขึ้น  ภายใต้การนำของกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญา  พร่มจึงได้ปราบปรามกบฎ  และเคลื่อนทัพมายังดินแดนไทย  โดยเริ่มจากการตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เรื่อยมาจนล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้  โดยกรุงศรีอยุธยาไม่อาจต้านทานได้  เนื่องจากสาเหตุดังต่ไปนี้
  1. พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
  2. แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถ ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบ
  3. ทหารขาดความสามารถ  เพราะว่างศึกษานาน
     กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าใน  พ.ศ.  2310  การเสียกรุงครั้งนี้  บ้านเมืองได้รับความเสียหายมาก  พม่าได้กวาดต้อนทรัพย์สมบัติ  และผู้ีคนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
       กรุงศรีอยุธยา ได้สิ้นสุดลงด้วยระยะเวลา  417  ปี  โดยทิ้งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  รวมทั้งบทเรียนจากอดีต ที่มีผลให้เสียกรุง จนไม่อาจสถาปนาขึ้นใหม่ได้
แผนที่อยุธยาในสมัยรุ่งเรื่องในอดีต


(ที่มา http://allknowledges.tripod.com/ayutthaya.html)

สมัยสุโขทัย







 (พ.ศ.  1780 - 1981)
การสถาปนากรุงสุโขทัย
     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
  1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สถาปนาเป็นกษัตริย์  โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  1781
  2. พ่อขุนบางเมือง  เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  1820
  3. พ่อขันรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  พระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  "รามคำแหง"  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี  พ.ศ.  1822
  4. พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. 1843
  5. พระยางั่วนำถม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  1890
  6. พระมหาธรรมราชาที่  1  (พญาลิไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1890 - 1917
  7. พระมหาธรรมราชาที่  2  (พระเจ้าไสยลือไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1917 - 1942  ช่วง  พ.ศ.  1921  ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
  8. พระมหาธรรมราชที่  3  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1942 - 1962  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
  9. พระมหาธรรมราชาที่  4  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1962 - 1981  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย  

   ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก
ในสมัยพ่่อขุนรามคำแห่ง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย
  • ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
  • ทิศตะวันออก  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
  • ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
  • ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หวงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี
     กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  200  ปี  คือ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1780 - พ.ศ.  1981  แต่ในราวปี  พ.ศ.  1983  กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัย ได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น  โดยมีพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา
     อาณาจักรอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งดี  มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง ได้ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ  และสามารถยึดครองอาณาจักสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ ในสมัยพระมหาธรรมราชที่  2  และต่อมาในปี  พ.ศ.  1981  ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

การปกครองสมัยสุโขทัย
     การปกครองสมัยสุโขทัย  เป็นการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อำนาจสูงสุด อยู่กับพระมหากษัตริย์  แต่เนื่องจากอาณาเขตของสุโขทัย ไม่กว้างขวางนัก ประชากรก็ยังมีไม่มาก  รวมทั้งกษัตริย์ ทรงเป็นธรรมราชา ปกครองอาณาจักร เสมือนเป็นผู้นำชุมชน หรือพ่อเมือง  การปกครองในระยะแรกของสมัยสุโขทัย จึงมีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก
    การปกครองภายหลังสมัยพ่อขุนรามคำแห่ง มหาราช ได้เปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของขอม  คือ  ยกย่องฐานะของกษัตริย์ให้สูงขึ้น  พระนามของกษัตริย์ จึงเปลี่ยนแปลงจาก "พ่อขุน" เป็น  "พญา"
     ลักษณะการปกครอง ที่เป็นการกระจายอำนาจ คือ การกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง ไปยังเมืองอื่น ๆ  ทั้งนี้ เพื่อรักษาและป้องกันมิให้ดินแดนเหล่านั้นถูกแย่งชิง
     การปกครองที่มีแนวโน้มเข้าได้กับหลักการปกครองแบบประชาธิไตย ที่เห็นได้ชัด  คือ
  1. ราษฎรมีเสรีภาพในการเรียกร้องความยุติธรรม
  2. ราษฎรมีเสรีภาพในการค้าขาย
  3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
สังคมในสมัยสุโขทัย
  1. ศาสนาและความเชื่อ  เดิมชาวสุโขทัยนับถือผีบรรพบุรุษ เทพยดา และปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ต่อมา พระพุทธศาสนา ได้เข้าเผยแผ่ โดยรับมาจากเมืองนครศรีธรรม ซึ่งถ่ายทอดมาจากลังกา จึงมีชื่อว่า ลัทธิลังกาวงศ์  ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวสุโขทัยอีกศาสนาหนึ่ง คือ  ศาสนาพราหมณ์
  2. ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม  ลักษณะเด่น ได้แก่การสร้างเจดีย์ ซึ่งพัฒนาเป็น  3  แบบ  คือ  ระยะแรก  นิยมสร้างเจดีย์ทรงกลม  ฐานเตี้ย  ระยะที่สอง  นิยมสร้างเจดีย์แบบบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  และระยะที่สาม นิยมสร้างในลักษณะทรงกลม  ฐานสูง  พระเจดีย์ที่ถือเป็นเอกลักษณะของสุโขทัย  ได้แก่  พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดมหาธาตุ  พระเจดีย์กลาง ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว
     ประติมากรรม  ส่วนใหญ่ เป็นการปั้นพระพุทธรูป  ลักษณะเด่น ของพระพุทธรูป จมีลักษณะส่วนโค้งงามสง่า  เรียบและประณีต
       สำหรับพระพุทธรูป ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด  คือพระพุทธรูปปางลีลา

(ที่มา  http://allknowledges.tripod.com/sukhothai.html )