วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยสุโขทัย







 (พ.ศ.  1780 - 1981)
การสถาปนากรุงสุโขทัย
     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
  1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สถาปนาเป็นกษัตริย์  โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  1781
  2. พ่อขุนบางเมือง  เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  1820
  3. พ่อขันรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  พระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  "รามคำแหง"  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี  พ.ศ.  1822
  4. พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. 1843
  5. พระยางั่วนำถม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  1890
  6. พระมหาธรรมราชาที่  1  (พญาลิไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1890 - 1917
  7. พระมหาธรรมราชาที่  2  (พระเจ้าไสยลือไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1917 - 1942  ช่วง  พ.ศ.  1921  ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
  8. พระมหาธรรมราชที่  3  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1942 - 1962  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
  9. พระมหาธรรมราชาที่  4  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1962 - 1981  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย  

   ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก
ในสมัยพ่่อขุนรามคำแห่ง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย
  • ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
  • ทิศตะวันออก  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
  • ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
  • ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หวงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี
     กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  200  ปี  คือ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1780 - พ.ศ.  1981  แต่ในราวปี  พ.ศ.  1983  กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัย ได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น  โดยมีพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา
     อาณาจักรอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งดี  มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง ได้ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ  และสามารถยึดครองอาณาจักสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ ในสมัยพระมหาธรรมราชที่  2  และต่อมาในปี  พ.ศ.  1981  ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

การปกครองสมัยสุโขทัย
     การปกครองสมัยสุโขทัย  เป็นการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อำนาจสูงสุด อยู่กับพระมหากษัตริย์  แต่เนื่องจากอาณาเขตของสุโขทัย ไม่กว้างขวางนัก ประชากรก็ยังมีไม่มาก  รวมทั้งกษัตริย์ ทรงเป็นธรรมราชา ปกครองอาณาจักร เสมือนเป็นผู้นำชุมชน หรือพ่อเมือง  การปกครองในระยะแรกของสมัยสุโขทัย จึงมีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก
    การปกครองภายหลังสมัยพ่อขุนรามคำแห่ง มหาราช ได้เปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของขอม  คือ  ยกย่องฐานะของกษัตริย์ให้สูงขึ้น  พระนามของกษัตริย์ จึงเปลี่ยนแปลงจาก "พ่อขุน" เป็น  "พญา"
     ลักษณะการปกครอง ที่เป็นการกระจายอำนาจ คือ การกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง ไปยังเมืองอื่น ๆ  ทั้งนี้ เพื่อรักษาและป้องกันมิให้ดินแดนเหล่านั้นถูกแย่งชิง
     การปกครองที่มีแนวโน้มเข้าได้กับหลักการปกครองแบบประชาธิไตย ที่เห็นได้ชัด  คือ
  1. ราษฎรมีเสรีภาพในการเรียกร้องความยุติธรรม
  2. ราษฎรมีเสรีภาพในการค้าขาย
  3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
สังคมในสมัยสุโขทัย
  1. ศาสนาและความเชื่อ  เดิมชาวสุโขทัยนับถือผีบรรพบุรุษ เทพยดา และปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ต่อมา พระพุทธศาสนา ได้เข้าเผยแผ่ โดยรับมาจากเมืองนครศรีธรรม ซึ่งถ่ายทอดมาจากลังกา จึงมีชื่อว่า ลัทธิลังกาวงศ์  ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวสุโขทัยอีกศาสนาหนึ่ง คือ  ศาสนาพราหมณ์
  2. ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม  ลักษณะเด่น ได้แก่การสร้างเจดีย์ ซึ่งพัฒนาเป็น  3  แบบ  คือ  ระยะแรก  นิยมสร้างเจดีย์ทรงกลม  ฐานเตี้ย  ระยะที่สอง  นิยมสร้างเจดีย์แบบบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  และระยะที่สาม นิยมสร้างในลักษณะทรงกลม  ฐานสูง  พระเจดีย์ที่ถือเป็นเอกลักษณะของสุโขทัย  ได้แก่  พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดมหาธาตุ  พระเจดีย์กลาง ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว
     ประติมากรรม  ส่วนใหญ่ เป็นการปั้นพระพุทธรูป  ลักษณะเด่น ของพระพุทธรูป จมีลักษณะส่วนโค้งงามสง่า  เรียบและประณีต
       สำหรับพระพุทธรูป ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด  คือพระพุทธรูปปางลีลา

(ที่มา  http://allknowledges.tripod.com/sukhothai.html )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น