วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์ไทย สมัย ธนบุรี

การสถาปนากรุงธนบุรี
แผนที่ประเทศไทยสมัยธนบุรี
     ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว  บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง  ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม  การเสียกรุงครั้งที่ 2  นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า  จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
      ชุมนุมคนไทยทั้ง  5  ชุมนุม  ได้แก่
  1. ชุมนุมเจ้าพิมาย
  2. ชุมนุมเจ้าพระฝาง
  3. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
  4. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
  5. ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง  7  เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช  และการกอบกู้อิสรภาพ
     พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า  สิน  มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน)  มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก
      พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง  จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา  แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ  500  คน  ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป  พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก  แล้วตั้งบที่มั่นที่เมืองจันทบุรี  เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร  เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว  พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
      หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว  เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4  แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า  พระเจ้าตากสิน  หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
     ภายหลังกู้เอกราชแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า  สภาพของรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก  ทั้งนี้  เพราะ
  1. ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า
  2. กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้
  3. ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี  ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ
  4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา  ข้าศึกษาสามารถโจมตีนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ
  5. กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก  ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล
     พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
  1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
  2. ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  สะดวกในการติดต่อค้าขาย
  3. สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ
  4. ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้  สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้
  5. ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และการขยายอาณาจักร
อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชที่พระราชวังเดิม
     พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น  โดยใช้เวลาเพียง  3  ปี  สาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบก้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้  เนื่องจาก
  1. พระปรีชาสามารถในการรบ
  2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน
  3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย  กล้าหาญ
     หลังจากกอบกู้เอกราช รวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว  ไทยต้องทำสงครามกับพม่า  เพื่อป้องกันอาณาจักรอีกถึง  9  ครั้ง  โดยสามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้สำเร็จ
การขยายอาณาจักร
     หลังจากเหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงเริ่มขยายอาณาเขตไปยังประเทศใกล้เคียง  ดังนี้
  1. การขยายอำนาจไปยังเขมร
    • เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม  แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ
    • ในปี  พ.ศ.  2314  โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก  และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ
    • ในปี  พ.ศ.  2323  ได้เกิดกบฎในเขมร  จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปราม อีก  แต่ยังไมทัน่สำเร็จ  พอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับ
  2. การขยายอำนายไปยังลาว
    • การตีเมืองจำปาศักดิ์
    • การตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรปที่สำคัญมา 2 องค์  คือ  พระแก้วมรกต และ พระบาง
     อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน  มีดังนี้
  • ทิศเหนือ  ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง  เวียงจันทน์
  • ทิศตะวันออก   ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน
  • ทิศใต้   ได้ดินแดนเมืองกลันตัน  ตรังกานู  และไทรบุรี
  • ทิศตะวันตก   จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ  ทวาย  และตะนาวศรี
      สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย  รวบรวมอาณาเขตประเทศไทย ให้เป็นปึกแผ่น  ทรงปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ  ขยายอาณาเขตออกไปได้กว้างขวาง  นับว่าพระองค์ เป็นมหาวีรกษัตริย์ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ให้ไว้แก่ชาิติไทยเป็นอันมาก  ควรแก่การเทิดทูนในพระเกียรติคุณเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาในปลายรัชกาล  พระองค์เสียพระจริต  จึงถูกข้าราชการปลดพระองค์ออกจากราชสมบัติ  รวมเวลาครองราชย์อยู่  15  ปี  ส้ินสุดสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ  พ.ศ.  2325  ประชาชนชาวไทยในหนหลังได้ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

(ที่มา http://allknowledges.tripod.com/thonburi.html)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น