ตามพงศาวดาร และคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวไว้ว่าพ่อขุนศรี อินทราทิตย์มีพระนามเต็ม คือ กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ “กล่างท่าว”) ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชย์สมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1782 - 1822 (30 ปี คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ.ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อนมณเฑียรทอง) เมื่อ
จุลศักราช 536 พระเจ้าสุริยราชา
ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
ได้ทรงตบแต่งซ่อมแซมแปลงเมืองพิจิตรปราการ(กำแพงเพชร)ขึ้นใหม่ครองราชย์
สมบัติต่อไป มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สิริสุธาราชเทวี
มีพระราชโอรสองค์หนึ่งด้วยพระอัครมเหสี
ทรงพระนามว่าจันทกุมารพระเจ้าสุริยราชา เมื่อแรกได้ราชสมบัติพระชนม์ได้ 20
พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 28 ปี เสด็จสวรรคตพระชนม์ได้ 47 พรรษา
พระองค์ประสูติวันจันทร์ จุลศักราช 570 พระจันทกุมารราชโอรส
ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่า
พระเจ้าจันทรราชาและตามพระราชพงศาวดารโยนก หน้า 80 วรรค 2
กล่าวไว้ว่ายังมีข้อความในหนังสือชินกาลมาลินี
กล่าวถึงมูลประวัติของพระเจ้าโรจนราชผู้ได้
พระพุทธสิหิงค์มาจากศรีธรรมนครนั้นว่า บุรุษผู้หนึ่งหลงป่าที่บริเวณ
บ้านโคณคาม(เข้าใจว่าบ้านโคนริมเมืองเทพนคร)และได้พบนางเทพธิดาแปลงเป็น
มนุษย์(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)มาร่วมสมัครสังวาสเกิดบุตรได้มาเป็นเจ้ากรุง
สุโขทัยทรงนามว่า โรจราช
ประวัติพระองค์ท่านจากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 112-113 ตอนหนึ่งกล่าวถึงการประสูติของพระองค์ ได้ยินว่าที่บ้านโค (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร ในปัจจุบัน) ยังมีชายคนหนึ่ง(จันทราชา)รูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่ร่วมสังวาสด้วยจึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของทั้งสองคนนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่ง และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้น ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่าพระเจ้าล่วง
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งหมดเชื่อได้ว่า เมืองคณฑีโบราณ หรือตำบลคณฑี
จังหวัดกำแพงเพชร ในปัจจุบันนั้นอยู่ในอาณาจักร สุโขทัย เนื่องจากพระเจ้าสุริยราชา (พระอัยกาของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ) ครองราชย์สมบัติที่เมืองพิจิตปราการ (เมืองกำแพงเพชร ปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็เสด็จสวรรคตและต่อมาพระจันทกุมารราชโอรส (พระเจ้าจันทรราชา พระราชบิดา ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์) ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ ระหว่างนี้เกิดปาฏิหาริย์หลายสิ่งมากมายจนกระทั่งได้มเหสีเป็นเชื้อชาตินางนาคกุมารี และมีพระราชโอรสคือ พระร่วง (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) นั่นเอง เพราะอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อถือคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่า บ้านเดิมของพระองค์อยู่ที่ “บ้านโคน ” ในจังหวัดกำแพงเพชร พระองค์ทรงนำชนชาติไทยต่อสู้กับชนชาติขอมซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงกรุงสุโขทัยด้วย ทรงได้ชัยชนะขอมและประกาศอิสรภาพ ตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกและเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง- เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
จังหวัดกำแพงเพชร ในปัจจุบันนั้นอยู่ในอาณาจักร สุโขทัย เนื่องจากพระเจ้าสุริยราชา (พระอัยกาของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ) ครองราชย์สมบัติที่เมืองพิจิตปราการ (เมืองกำแพงเพชร ปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็เสด็จสวรรคตและต่อมาพระจันทกุมารราชโอรส (พระเจ้าจันทรราชา พระราชบิดา ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์) ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ ระหว่างนี้เกิดปาฏิหาริย์หลายสิ่งมากมายจนกระทั่งได้มเหสีเป็นเชื้อชาตินางนาคกุมารี และมีพระราชโอรสคือ พระร่วง (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) นั่นเอง เพราะอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อถือคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่า บ้านเดิมของพระองค์อยู่ที่ “บ้านโคน ” ในจังหวัดกำแพงเพชร พระองค์ทรงนำชนชาติไทยต่อสู้กับชนชาติขอมซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงกรุงสุโขทัยด้วย ทรงได้ชัยชนะขอมและประกาศอิสรภาพ ตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกและเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง- เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ส่วนพระราชกรณียกิจที่สำคัญพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้า เมืองราด
แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถมรวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมือง ศรีสัชนาลัย และเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและยกพระกนิษฐา(นางเสือง)ให้เป็นมเหสีอีกด้วยส่วนพระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้กลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ โดยคำว่า “บดินทร” หายออกไป เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้ เป็น บดีแห่งอินทรปัต คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร (เมืองอินทรปัต) อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ ราชวงศ์พระร่วง เข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถมอยู่ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า “หนีญญ่ายพ่ายจแจ” ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชนภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่า รามคำแหงในยุคประวัติพ่อขุน
แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถมรวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมือง ศรีสัชนาลัย และเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและยกพระกนิษฐา(นางเสือง)ให้เป็นมเหสีอีกด้วยส่วนพระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้กลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ โดยคำว่า “บดินทร” หายออกไป เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้ เป็น บดีแห่งอินทรปัต คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร (เมืองอินทรปัต) อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ ราชวงศ์พระร่วง เข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถมอยู่ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า “หนีญญ่ายพ่ายจแจ” ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชนภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่า รามคำแหงในยุคประวัติพ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่
1. พระราชโอรสองค์โต (ไม่ปรากฏนาม) เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
2. พ่อขุนบานเมือง
3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
4. พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
5. พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น